เสริมก้น เสริมสะโพก เพิ่มความงามให้ได้สัดส่วน (Buttock Augmentation)

10582 views

เสริมก้น เสริมสะโพก เพิ่มความงามให้ได้สัดส่วน (Buttock Augmentation)

           ความสวยเซ็กซี่ที่สาวๆหลายคนไฝ่ฝันคือการมีบั้นท้ายที่สวยกลมกลึงได้รูป จะแต่งชุดไหนก็ดูดี ผิดกับผู้หญิงที่สะโพกแบน ก้นแฟบมักจะมีอุปสรรคในเรื่องการแต่งตัว ขาดความมั่นใจแทบไม่เหลือ ก้นที่แบนทำให้เวลาสวมใส่เสื้อผ้าบริเวณก้นมีลักษณะย่น ไม่เต็มก้น ใส่แล้วดูไม่สวยงาม

สาวๆ ที่มีปัญหาก้นแบน แล้วอยากก้นสวย กลมกลึง บางคนก็เลือกแก้ปัญหาด้วยการสวมกางเกงในเสริมก้น เสริมสะโพก ซึ่งก็ทำได้แต่ก็ต้องใส่กันทุกวันไปตลอด แต่ถ้าอยากมีบั้นท้ายกลมกลึงสวยงามอย่างถาวรในเร็ววัน สามารถปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อผ่าตัดเสริมก้น เสริมสะโพกได้

การเสริมก้น เสริมสะโพกเหมาะกับใคร ?

  • ก้นเล็กตั้งแต่กำเนิด ลีบ แฟ่บ ต้องการใส่กางเกงรัดรูป หรือบิกินี่ให้ดูเข้ารูปมากขึ้น
  • ผู้ที่เคยเสริมหน้าอกแล้ว ถ้าเสริมก้นไปอีก จะทำให้ดูมีสัดส่วนและดูเซ็กซี่มากขึ้น
  • ผู้ที่ลดน้ำหนักมากเกินไป มีการยกกระชับ อาจต้องเสริมก้นเพิ่มด้วย 
  • ผู้ที่มีปัญหาบั้นท้ายหย่อนยานตามวัย ต้องการเสริมให้ดูเต่งตึงขึ้น
  • ผู้ที่ไม่ต้องการใส่กางเกงในเสริมก้น อยากใส่กางเกงรัดรูป โชว์สะโพกได้อย่างมั่นใจ

 

3 เทคนิคในการเสริมก้น เสริมสะโพก

1. เสริมด้วยเนื้อเยื่อของตัวเอง

      เหมาะกับคนไข้ที่มีการลดน้ำหนักมากๆ, มีหนังด้านหลังที่ห้อย, แบนราบจากกล้ามเนื้อที่หายไป, มีริ้วเห็นชัด ควรตัดหนังบริเวณเอวแล้วยกกระชับขึ้นมา นำเนื้อเยื่อที่ตัดมาเสริมที่ก้น

2. เสริมก้น เสริมสะโพกด้วยซิลิโคน

      ซิลิโคนเป็นประเภทเดียวกับที่ใช้ในการเสริมหน้าอก แต่มีลักษณะและรูปร่างไม่เหมือนกัน แพทย์มักจะแนะนำวิธีนี้ เพราะให้ผลลัพธ์ถาวร มีความปลอดภัยสูงและได้รับความนิยมมากที่สุดเหมาะกับผู้ที่ต้องการเพิ่มปริมาตรของก้น 150cc – 250cc จะทำให้ดูดีขึ้น การเสริมให้เป็นธรรมชาติ ควรเสริมใต้ระหว่างกล้ามเนื้อ เป็นเทคนิคยากต้องใช้ความชำนาญของแพทย์เฉพาะทาง

      วิธีของโรงพยาบาลศัลยกรรมดับเบิ้ลยู จะใส่ใต้กล้ามเนื้อ ในช่องกระดูกเชิงกราน ทำให้ซิลิโคนอยู่กับที่ไปตลอด ที่สำคัญ บั้นท้ายดูเป็นธรรมชาติเพราะมีชั้นไขมันและผิวหนังคลุมอยู่จริงๆ

3. เสริมก้น เสริมสะโพกด้วยซิลิโคนร่วมกับไขมัน

      เหมาะกับคนไข้ที่มีไขมันที่ก้นน้อยมาก ใส่ซิลิโคนใต้กล้าม ก็ยังดูไม่เป็นธรรมชาติ จึงควรใส่ไขมันในชั้นผิวหนังเข้าไปเสริมร่วมด้วย

 

ขั้นตอนการเริมก้น

 

เสริมก้น


ภาพประกอบการเสริมก้น

 

รูปร่างของถุงซิลิโคนสะโพกจะแตกต่างจากถุงเต้านม โดยจะมี 2 แบบ คือ ทรงกลมและทรงวงรี

ทรงกลม 

      มีรูปร่างกลมแต่จะแบนกว่าถุงซิลิโคนที่ใช้เสริมเต้านม ใช้สำหรับเสริมบริเวณสะโพกด้านใน 

ข้อดี : ทรงกลมใส่ง่ายกว่าทรงวงรีและไม่มีโอกาสเคลื่อนตัว หมุนอย่างไรก็ไม่เป็นไร ช่วยให้วางตำแหน่งได้ง่าย
ข้อเสีย : ไม่สามารถเน้นการเสริมเฉพาะจุดได้

ถุงทรงวงรีหรือทรงหยดน้ำ 

      เหมาะสำหรับเน้นบางจุดเพราะสามารถหมุนได้ทุกทิศทาง ถ้าคนไข้ต้องการเสริมเฉพาะด้านนอก ไม่ต้องการเน้นด้านใน กรณีนี้ต้องใช้ทรงหยดน้ำ เพราะมีให้เลือกทั้งขั้วเล็ก ขั้วใหญ่ ในขณะที่ทรงกลมไม่มีขั้ว ทุกด้านเท่ากันหมด 

ข้อดี : สามารถเน้นตำแหน่งที่ต้องการได้ 
ข้อเสีย : ซิลิโคนมักจะเคลื่อนที่ง่าย ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย

      ถุงซิลิโคนสำหรับเสริมสะโพกที่ใช้ ภายในจะบรรจุด้วยซิลิโคนเจลเท่านั้น ไม่มีการผลิตแบบถุงน้ำเกลือ เนื่องจากโอกาสที่ถุงน้ำเกลือจะรั่วมีมากกว่าถุงเจล เพราะการเสริมสะโพกเป็นการใส่ถุงในกล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่มีการเคลื่อนไหว ทำให้มีแรงกดบริเวณถุงสะโพกมากกว่าถุงเต้านม เจลที่บรรจุในถุงซิลิโคนเป็นเจลที่มีความหนาแน่นมาก (High Cohesive gel)

ตำแหน่งการวางถุงซิลิโคน

ใต้ผิวหนัง เป็นการวางถุงซิลิโคนไว้เหนือกล้ามเนื้อ ไม่แนะนำให้ทำ เนื่องจากซิลิโคนมักจะเคลื่อนที่ง่าย ตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย และอาจเห็นรูปร่างของถุงซิลิโคนชัดเจนหลังจากยุบบวมแล้วและมีโอกาสเกิดการทะลุของถุงซิลิโคนในคนไข้บางรายได้

ใต้กล้ามเนื้อหรือระหว่างกล้ามเนื้อ เป็นวิธีที่ได้มาตรฐานที่สุดในปัจจุบัน โดยจะขึ้นอยู่กับกล้ามเนื้อของกล้ามเนื้อสะโพกมัดบนและมัดล่างอาจไม่สามารถแบ่งออกได้ชัดเจน ดังนั้นการใส่ถุงซิลิโคนระหว่างกล้ามเนื้อสะโพกทั้งสองมัด สามารถทำได้ในคนไข้บางรายเท่านั้น การจะเปิดช่องระหว่างกล้ามเนื้อสะโพก 2 มัด และการใส่ถุงใต้กล้ามเนื้อสะโพกมัดใหญ่มักได้ผลเช่นเดียวกับการเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อ 

ข้อดี : โอกาสที่ซิลิโคนจะทะลุมีน้อย ซิลิโคนไม่เคลื่อนที่ 
ข้อเสีย : จะมีอาการเจ็บปวดหลังผ่าตัดมากกว่าการผ่าตัดใต้ผิวหนัง 

การเปิดโพรงใต้กล้ามเนื้อต้องใช้ความชำนาญของศัลยแพทย์เฉพาะทางและต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดอันตรายต่อเส้นประสาทใหญ่ที่ขา 

เตรียมตัวก่อนการผ่าตัด

  • งดยาแอสไพริน บุหรี่ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดอาหารประเภทกระเทียม หัวหอม น้ำมันปลา วิตามินอี และผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองก่อนผ่าตัดประมาณ 2 สัปดาห์ เพราะอาหารพวกนี้มีผลต่อการแข็งตัวของเลือด อาจทำให้เลือดออกมากระหว่างผ่าตัดได้
  • งดน้ำและอาหาร 6-8 ชั่วโมงก่อนผ่าตัด
  • ถ้ามีโรคประจำตัวหรือแพ้ยา ต้องแจ้งให้แพทย์ทราบล่วงหน้า
  • ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ เบาหวาน หรือความดันโลหิตสูง ไม่ควรผ่าตัด
  • การผ่าตัดเสริมสะโพกไม่ควรทำร่วมกับการผ่าตัดอื่นๆ บริเวณส่วนหน้าของร่างกาย เช่น การตัดไขมันหน้าท้องหรือการเสริมหน้าอก เพราะจะมีปัญหาในการดูแลหลังผ่าตัด ยกเว้นการดูดไขมันเล็กน้อยอาจทำร่วมกันได้
  • ควรมีผู้ดูแลที่บ้านหลังการผ่าตัด
  • งดสูบบุหรี่ 2 สัปดาห์ก่อนผ่าตัด

 

การดูแลตัวเองหลังผ่าตัด

  • คนไข้ต้องนอนพักในโรงพยาบาลประมาณ 2 คืน 
  • สัปดาห์แรกควรพักผ่อนมากๆ แต่ไม่จำเป็นต้องนอนบนเตียงตลอดเวลา โดยทั่วไป ในวันที่ 4 สามารถเดินหรือนั่งอย่างช้าๆ โดยอาจรู้สึกเจ็บปวดอยู่บ้างเล็กน้อย
  • นอนคว่ำในสัปดาห์แรกหลังผ่าตัด ห้ามนอนหงายเพราะจะเป็นการกดทับถุงซิลิโคน
  • หลังจากเปิดแผล ควรทำความสะอาดแผลทุกวันจนถึงวันตัดไหม
  • เปิดผ้าพันแผลวันที่ 2 หรือ 3
  • ระวังอย่าให้พลาสเตอร์เปียกน้ำ
  • สัปดาห์ที่สองสามารถนั่งบนเบาะนิ่มๆ ได้
  • หลังผ่าตัดประมาณ 10 วัน จึงจะสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ
  • อาการปวดบริเวณสะโพกอาจเกิดขึ้นได้ใน 1 – 3 เดือนแรก
  • จะไม่รู้สึกมีสิ่งแปลกปลอมที่สะโพกภายใน 6 – 8 เดือน
  • ใส่กางเกงรัดไว้เป็นเวลา 1 สัปดาห์ กางเกงนี้เปรียบเสมือนตัวควบคุมตำแหน่งซิลิโคนไม่ให้เคลื่อนที่

 

เสริมก้น เสริมสะโพก ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งดับเบิ้ลยู

      ตกแต่งเสริมก้นโดยศัลยแพทย์เฉพาะทางในแผลร่องก้นปกปิดรอยแผลได้ นั่งได้เลยทันทีหลังผ่าตัด ไม่ต้องนอนค้างที่โรงพยาบาล

 

ถาม - ตอบ

1. ซิลิโคนเสริมก้นแตกง่ายไหม ?
ตอบ ซิลิโคน ส่วนใหญ่กังวลถึงความทนทานมาเป็นอันดับต้นๆ เพราะเกิดแตกขึ้นมาแล้ว ปัญหาใหญ่ อีกทั้งสะโพกเป็นส่วนที่ใช้งานเยอะกว่าหน้าอก โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งเกือบทั้งวัน ซิลิโคนก้น ออกแบบมาให้มีความยืดหยุ่นน้อยเพื่อเน้นความแข็งแรง ทนทานต่อแรงกดทับมากกว่าซิลิโคนเสริม หน้าอก ดังนั้น ถ้าใช้ของแท้ จะไม่พบปัญหาซิลิโคนแตกจากการกดทับทั่วไป

2. การเสริมสะโพกโดยฉีดสารเติมเต็มหรือฟิลเลอร์แตกต่างกับการผ่าตัดเสริมสะโพกอย่างไร ?
ตอบ การฉีดฟิลเลอร์บริเวณสะโพกอาจต้องใช้ปริมาณมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายสูงตามไปด้วย และเมื่อระยะเวลาผ่านไปฟิล   เลอร์ก็จะสลายไป ทำให้ต้องฉีดใหม่อีก การเสริมด้วยซิลิโคนให้ผลลัพธ์ถาวร มีความปลอดภัยสูงและได้รับความนิยมมากที่สุด 

3. ต้องใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นกี่วัน ?
ตอบ 10-15 วัน

Social Share
ที่คุณอาจสนใจ
สอบถามข้อมูลและโปรโมชั่น